วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

AJAX Technology & SOAP

AJAX นั้นย่อมาจาก Asynchronous Javascript And XML
   โดย AJAX Technology ก็ว่าด้วยเรื่อง เทคโนโลยีที่ทําการรวมเอาความสมารถของภาษา Java Script , XML ,CSS ,XML เอาไว้ด้วยกัน ในการนําไปประยุกต์ใช้

SOAP นั้นย่อมาจาก Simple Object Access Protocol
   โดย เป็นโปรโตคอลมาตราฐานที่ใช้ใน Web Services ทําหน้าที่ในการติดต่อเเลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันของ Web Services สามารถทํางานร่วมกับโพรโตคอลได้หลายชนิด เช่น HTTP,SMTP,FTP,IIOP
AJAX Technology 

   ปัจจุบัน AJAX เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในการสร้างเว็บเพจ เพราะมีความสะดวกรวดเร็ว โดยการทํางานนั่นไม่ได้ใช้การประมวลจากฝั่งของเซิร์ฟเวอร์เพียงฝั่งเดียวเท่านั่น เเต่ AJAX ยอมให้มีการประมวลผลบน Client-Side กับข้อมูลที่ใช้จากเครื่องเเม่ข่ายด้วย (Main Server) ในอดีตจะประมวลผลได้เเค่ฝั่งเซิฟร์เวอร์เพียงอย่างเดียวเท่านั่น AJAX จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่เหมาะสมในยุคปัจจุบัน

   ดูรูปเปรียบเทียบ Web Application model ระหว่าง AJAX กับ เเบบทั่วไป(มาตราฐาน)
จากรูปด้านบน ทําให้ได้รู้ว่าหลักการทํางานของ AJAX คร่าวๆ คือ เวลาเราจะทําการเปิดเว็บบราวเซอร์ ฝั่งเราจะถูกเรียกว่า Clent-Side บราวเซอร์ก็ส่งค่าที่เราต้องการไปยัง Main Server เมื่อ เซิร์ฟเวอร์ได้รับค่ามาก็จะส่งหน้าเว็บกลับมาให้เรา การส่งจากฝั่งนี้จะเรียกว่า Server-Side เมื่อฝั่งเราได้รับข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ บราวเซอร์จะทําการนําข้อมูลนั้นขึ้นหน้าจอเเสดงผล ถ้าเรากดเปิดเว็บหน้าอื่นๆ ระบบจะทําการเริ่มขั้นตอนใหม่ทั้งหมดอีกรอบ

   ประโยชน์ของ AJAX นั้นสามารถนํามาใช้สําหรับการเข้าถึงระบบข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น ระบบเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินเตอร์เน็ต การเเสดงผลทางหน้าจอที่รวดเร็วกว่าสมัยก่อนเเละง่ายต่อการจัดการระบบที่สะดวกสะบายมากขึ้น ประมวลผลร่วมกันได้จากหลายๆเเหล่ง ข้อมูลสามารถปรับให้เป็น HTML ได้ ไม่ต้อง Refresh หน้าจอใหม่ทุกครั้ง การส่งข้อมูลไป-กลับ ไม่ได้ทําการส่งไปทั้งหน้า ซึ่งทําให้ใช้พื้นที่ หรือ ความจุ (Bandwidth) น้อยลง

อ้างอิงจาก : http://skinkun.exteen.com/20080101/ajax-technology



SOAP ( Simple Object Access Protocol )

   เป็นโพรโตคอล ในการสื่อสาร ในระดับ Application Layer โดยผ่านอินเตอร์เน็ต รูปเเบบของภาษาจะอยู่ในรูปเเบบ XML เพื่อให้ Web Services สื่อสารกันได้ ถึงเเม้ว่าจะอยู่บนคอมพิวเตอร์คนละ Platfrom หรือภาษาโปรเเกรมที่ต่างกัน
   นิยมใช้ HTTP เป็นโพรโตคอลร่วมสําหรับส่งผ่านข้อมูลบนระบบอินเตอร์เน็ต

   รูปจําลองของลักษณะการส่ง-การรับ ผ่านโพรโตคอล SOAP ตามรูปเเบบของ XML

จากรูปจะได้อธิบายได้ดังนี้

1.) ผู้ขอใช้บริการ (Service Requester)
-ทําการสร้าง SOAP Message เพื่อเรียกใช้บริการของ Web Service เเล้วส่งผ่านโพรโตคอลเครื่อข่ายไปยังผู้ให้บริการ

2.) ผู้ให้บริการ (Service Provider)
-ได้รับ SOAP Message จากข้อ1 จากนั้นเเปลข้อความนั้นกลับมาอยู่ในรูปเเบบที่ Web Server สามารถเข้าใจได้ เเล้วตรวจสอบ จากนั้นส่งไปให้เเก่ Component ที่ให้บริการ Web Service นั้นๆดําเนินการประมวลผลต่อทันที

3.) หลังจาก Component ที่ให้บริการ Web Service ส่งผลกลับมาเเล้วผู้ให้บริการก็จะสร้าง SOAP Message ที่มีผลลัพธ์นั่นออกมาด้วย เเล้วจึงค่อยส่งผ่านทางโพรโตคอลเครือข่ายกลับคืนไปยัง ข้อ1

4.) ผู้ขอใช้บริการจะได้รับ SOAP Message ในรูปเเบบ XML เเล้วเเปลข้อความนั้นกลับมาในรูปเเบบที่โปรเเกรมของผู้ขอใช้บริการเข้าใจ เเล้วทําการนําผลที่ได้ไปใช้งาน มี SOAP Listener ทําหน้าที่คอยรับฟังว่ามีการเรียกใช้ Web Service จากผู้ใช้ การบริการของ Web Service เเต่ละบริการจะมีไฟล์ SOAP Listener จํานวน 1 ไฟล์ เมื่อมีการเรียกใช้ Web Service ไฟลโปรเเกรมที่เป็น SOAP Listener จะปลุกให้ Web Service ทํางาน

-ข้อดีของ SOAP คือ  สามารถเรียกใช้ Component หรือ Web Service ข้าม Platfrom หรือ ข้ามภาษาได้ โดยอาศัยโพรโตคอล HTTP , รูปเเบบข้อความที่สื่อสารด้วย XMLเเละ สามารถทํางานผ่านระบบ Fire wall

-ข้อเสีย คือ SOAP Message นั้นเป็นเอกสารในรูปเเบบ XML จึงทําให้เสียเวลาในการเเปลกลับไปมา เพื่อให้เข้าใจ เเละ ในกรณีที่ทํางานอยู่กับ HTTP การรับ-ส่งข้อมูลตํ่ากว่า โพรโตคอล DCOM , RMI หรือ IIOP

1 ความคิดเห็น: