วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560

Carbon Footprint & Green Technology

Carbon Footprint หรือ ฉลาก"คาร์บอนฟุตพริ้นท์"

 










   เป็นฉลากที่ติดบนผลิตภัณฑ์ เพื่อบอกข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตั้งเเต่หาวัตถุดิบ,การผลิต,การขนส่ง,การใช้งาน เเละการกําจัดของเสีย

Green Technology หรือเทคโนโลยีสีเขียว (เทคโนโลยีไอทีสีเขียว)















  เป็นวิวัฒนาการ, วิธีการและอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการจัดการ แก้ไข ปรับแต่งให้การทำงานของผลิตภัณฑ์ไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งผลที่ได้จากการใช้งานของวิธีการและอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยให้การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ สะอาดขึ้น

Carbon Footprint

   ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อนหรือรังสีอินฟาเรดได้ดี ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกให้คงที่  ซึ่งหากบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ  จะทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันนั้นร้อนจัด  และในตอนกลางคืนนั้นหนาวจัด   เนื่องจากก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ทั้งนี้ มีก๊าซจำนวนมากที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน   และถูกจัดอยู่ในกลุ่มก๊าซเรือนกระจก    ซึ่งมีทั้งก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญคือไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน มีเทนและไนตรัสออกไซด์ สารซีเอฟซีเป็นต้น

Carbon footprint และฉลากคาร์บอนในไทย

          สำหรับประเทศไทย  องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)   หรือ อบก. ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมและ
พัฒนาศักยภาพ ตลอดจนให้คำแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก         ได้พัฒนาโครงการส่งเสริมการใช้
CarbonFootprint ของผลิตภัณฑ์ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดประกอบการตัดสินใจ และ
เป็นการเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมไทยในการแข่งขันในตลาดโลก

อ้างอิงจาก : http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n13/v_3-apr/ceaksong.html

Green Technology

   ทางด้านไอทีจะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆคือ

1. Green Computer เครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอื่นๆ ประกอบไปด้วยพลังงานหน่วยประมวลผลศูนย์กลางที่มีประสิทธิภาพ (CPU) เครื่องเซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์เสริมเพื่อลดการทำงานของทรัพยากรและการจัดการเรื่องการสิ้นเปลืองของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Waste)

2. ศูนย์กลางข้อมูลสีเขียว(Green Data Center) คือ การใช้งานทางด้านการจัดเก็บข้อมูล การจัดการทางด้านข้อมูลและการแพร่กระจายของข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องจักร
 อุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อให้พลังงานสูงสุดแต่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งการออกแบบการคำนวณจะเน้นศูนย์กลางข้อมูลสีเขียวรวมถึงเทคโนโลยีขั้นสูง
และยุทธศาสตร์ต่างๆ

อ้างอิงจาก : https://www.ksc.net/greenit/green_technology.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น